นายอรรถยุทธ ลียะวณิช บอร์ดค่าจ้างฝ่ายนายจ้างผู้ค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกครั้ง

นายอรรถยุทธ ลียะวณิช บอร์ดค่าจ้างฝ่ายนายจ้างผู้ค้านการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำทุกครั้ง

 


การประชุมคณะกรรมการค่าจ้าง ชุดที่ 22 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 ครั้งล่าสุด ไตรภาคีถกกันสนั่นในการพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ซึ่งผลการประชุมมีมติให้อิสระกับบอร์ดค่าจ้างของทั้ง 77 จังหวัด พิจารณาเต็มที่แล้วส่งผลการพิจาณามาให้กับบอร์ดค่าจ้างชุดใหญ่ภายในเดือนกรกฎาคม 2567

ภายหลังการประชุมฝ่ายที่เสียผลประโยชน์เห็นจะเป็นฝ่ายนายจ้าง นายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง เดินออกจากห้องประชุมด้วยอารมณ์ที่ฉุนเฉียว ฉะแหลก มติที่ประชุมดูเร่งรีบให้ปรับขึ้นค่าจ้างเร็วเกินไป โดยให้บอร์ดค่าจ้างจังหวัดส่งตัวเลขกลับมาในเดือนกรกฎาคม เท่ากับว่ามีเวลาให้จังหวัดพิจารณาแค่ 2 เดือน และยังให้ยกเลิกสูตรที่ใช้คำนวณค่าจ้างขั้นต่ำตามมติที่ประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ที่แบ่งตามประเภทกิจการและแบ่งตามจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัดท่องเที่ยว โดยเปลี่ยนไปใช้สูตรใหม่ที่จะขึ้นค่าจ้างอย่างไรก็ได้ ไม่มีเพดาน นายจ้างรับไม่ได้

 

นายอรรถยุทธ ลียะวณิช บอร์ดค่าจ้างชุดที่ 22 ฝ่ายนายจ้าง ผู้เป็นห่วงเป็นใยนายจ้างเป็นพิเศษ โดยไม่เห็นหัวผู้ใช้แรงงาน ทุ่มสุดตัวเพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของนายจ้าง เปิดประวัติพบว่านายอรรถยุทธ ลียะวณิช ผู้นี้นี่แหละ ที่มีพระบรมราชโองการ ให้พ้นจากตำแหน่งผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงานกลาง และถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2550 เนื่องจากถูกลงโทษและกระทำผิดวินัยร้ายแรง

 

บอร์ดค่าจ้างผู้มีคุณสมบัติขาดความเคารพ ขาดความน่าเชื่อถือจากกลุ่มแรงงานไปแล้วหลังถูกปลดให้พ้นจากตำแหน่งและถูกริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ทำไมยังคงได้นั่งเสนอหน้าในบอร์ดค่าจ้างชุดที่ 22 ทำหน้าที่คัดค้าน ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในทุกครั้งที่มีการประชุม หรือจะมีนัยยะทางการเมืองแอบแฝง